วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2553

ความจริงคือ 6 นักศึกษายะลายอมรับเคยร่วมก่อเหตุร้ายเหตุใดอ้างเพียงถูกทำร้ายในค่ายทหาร

ยะลา - ผอ.กองปฏิบัติการข่าวสาร กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 เผย 1 ใน 7 ผู้ต้องสงสัยก่อเหตุไม่สงบในพื้นที่ยะลา ที่ถูกควบคุมตัวรวมทั้ง 6 นักศึกษายะลาได้ยอมรับระหว่างการสอบสวนถึงการร่วมก่อเหตุร้ายในพื้นที่ รวมถึงยังได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมโยงใยถึงแนวร่วมที่ทำงานอยู่ในพื้นที่ด้วย เมื่อ 31 ม.ค.51 ที่ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ค่ายสิรินธร ต.เขาตูม อ.ยะรัง จ.ปัตตานี พ.อ.อัคร ทิพโรจน์ ผู้อำนวยการกองปฏิบัติการข่าวสาร กองอำนวยการรักษาความมั่นคง ภายในภาค 4 ส่วนหน้า เปิดเผยถึงความคืบหน้ากรณีทหารชุด ฉก.11 จับกุมนักศึกษาใน จ.ยะลา และพวกได้รวม 7 คน เมื่อวันที่ 27 ม.ค.ที่ผ่านมา โดยเจ้าหน้าที่ทหารชุด ฉก.11 ได้เข้าตรวจค้นบ้านเช่าห้องแถว ซอยตักวา เนินหูกวาง ย่านฝั่งธนวิถี อ.เมืองยะลา และได้ควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยเป็นกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ 1 คน นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 4 คน และนักศึกษาสถาบันพลศึกษา วิทยาเขตยะลา 2 คน พ.อ.อัคร กล่าวว่า 1 ในผู้ที่ถูกจับกุมตัวได้ในเช้าวันนั้น คือ นายอัสมาดี ประดู่ อายุ 24 ปี อยู่บ้านเลขที่ 12 หมู่ที่ 9 ต.รือเสาะ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส ซึ่งเป็นแนวร่วมคนสำคัญที่ก่อเหตุร้ายในพื้นที่ การเข้าจับกุมตัวนายอัสมาดี เป็นไปตามข่าวสารที่ได้จากการสอบสวน นายนิพา ภูมิภัทรญาณกูร หรือ นายอนันท์ การีอูมา ซึ่งเป็น RKK คนสำคัญ และถูกจับกุมได้เมื่อวันที่ 26 ม.ค.ที่ผ่านมาที่บริเวณหน้าธนาคารไทยพาณิชย์ ถ.สิโรรส ต.สะเตง อ.เมืองยะลา โดยได้ให้การระหว่างการสอบสวนว่า เตรียมการจะก่อเหตุในช่วงเดือน ก.พ. 51 ด้วยการเผารถยนต์หลายคันในเวลาเดียวกัน พร้อมกับระบุอีกว่า ยังมี RKK ที่จะร่วมก่อเหตุด้วย และแจ้งเบาะแสให้จับกุม พ.อ.อัคร กล่าวต่อว่า นายอัสมาดี ประดู่ ได้ให้การรับสารภาพขณะถูกควบคุมตัว และให้การซัดทอดไปยังนายอับดุลอาซิ อารง อยู่บ้านเลขที่ 64/1 หมู่ที่ 4 ต.ริโก๋ อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส และนายซอบรี กาซอ อยู่บ้านเลขที่ 47/3 หมู่ที่ 3 บ้านคางา ต.สะนอ อ.ยะรัง จ.ปัตตานีว่า เคยมีส่วนร่วมในการเตรียมก่อเหตุความไม่สงบในพื้นที่ที่ผ่านมาด้วย ซึ่งทาง ฉก.11 ได้ติดตามจับกุมมาด้วยแล้วทั้ง 2 คน โดยให้การรับสารภาพว่า เคยก่อคดีสำคัญสะเทือนขวัญในเขตเทศบาลนครยะลามาแล้วหลายคดี อาทิ คดียิง นายวินัย สุพรรณ ที่สี่แยกตลาดเก่า ต่อหน้าลูกอายุ 4 ขวบ บนรถยนต์กระบะเสียชีวิต และคดียิง ด.ต.สำเริงเสียชีวิต หลังมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เมื่อเดือน ก.ย.2550 ในการเข้าตรวจค้นเช้าวันที่ 27 ม.ค.ที่ผ่านมายังได้ควบคุมตัวนักศึกายะลา 6 คนไว้ทำการสอบสวนด้วย เนื่องจากพักอยู่รวมกันในขณะเข้าจับกุมตัวนายอัสมาลี โดยนักศึกษาทั้ง 6 คนแบ่งเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 4 คน และนักศึกษาสถาบันพลศึกษา วิทยาเขตยะลา 2 คน ประกอบด้วย 1.นายอัลมี เจ๊ะยอ อายุ 30 ปี อยู่บ้านเลขที่ 32 หมู่ที่ 2 ต.สะกำ อ.มายอ จ.ปัตตานี 2.นายอาหะมะ บาดง อยู่บ้านเลขที่ 9/1 หมู่ที่ 6 ต.ยุโป อ.เมือง จ.ยะลา 3.นายอามีซี มานาก อายุ 23 ปี อยู่บ้านเลขที่ 65 หมู่ที่ 3 ต.กำลอ อ.ยะรัง จ.ปัตตานี 4.นายอิสมาแอเตะ อายุ 23 ปี อยู่บ้านเลขที่ 110 หมู่ที่ 2 ต.มาโมง อ.สุคิริน จ.นราธิวาส 5.นายกูยิ อีแต อายุ 22 ปี อยู่บ้านเลขที่ 80/5 หมู่ที่ 2 ต.บ้านโหนด อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา 6.นายอับดุลเลาะ ดอเลาะ อายุ 24 ปี อยู่บ้านเลขที่ 7/1 หมู่ที่ 2 ต.ปากู อ.ทุ่งยางแดง จ.ปัตตานี พ.อ.อัคร กล่าวเพิ่มเติมว่า พร้อมให้ความเป็นธรรมกับนักศึกษาทั้ง 6 คนที่ถูกควบคุมตัวอยู่หากไม่พบว่ามีส่วนเกี่ยวข้องในการก่อเหตุร้ายในพื้นที่ก็จะปล่อยตัว ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินกรรมวิธีของเจ้าหน้าที่ในการสอบสวนอยู่ ส่วนในการเยี่ยมตัวผู้ต้องสงสัย ญาติสามารถเข้าเยี่ยมได้ แต่หลักจากการควบคุมตัวผ่านไปแล้ว 72 ชั่วโมง และในการอนุญาตให้เข้าเยี่ยม ญาติสามารถพูดคุย นำอาหารมาร่วมรับประทานกันได้ ที่ศูนย์เสริมสร้างความสมานฉันท์ ภายในค่ายอิงคยุทธบริหาร และหากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ศูนย์ประชาสัมพันธ์ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า หมายเลขโทรศัพท์ 073-262689 หรือที่ ฉก.11 หมายเลขโทรศัพท์ 073-295039
ญาติของนักศึกษา 3 คน จึงได้ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยตัวนักศึกษาที่ถูกจับกุม โดยอ้างมาตรา 90 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งบัญญัติว่า "เมื่อมีการอ้างว่าบุคคลใดต้องถูกควบคุมในคดีอาญา หรือในกรณีอื่นใด โดยมิชอบด้วยกฎหมาย บุคคลเหล่านี้ มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลท้องที่ที่มีอำนาจพิจารณาคดีอาญา ขอให้ปล่อย คือ ....." และได้อ้างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ดังนี้
· มาตรา ๔ บัญญัติว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอ ภาคของบุคคล ย่อมได้รับความคุ้มครอง
· มาตรา ๕ บัญญัติว่า ประชาชนชาวไทย ไม่ว่าเหล่ากำเนิด เพศ หรือศาสนาใด ย่อมอยู่ในความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญนี้เสมอกัน
· มาตรา ๖ บัญญัติว่า รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้
· มาตรา ๒๙ บัญญัติว่า การจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อการที่รัฐธรรมนูญนี้กำหนดไว้และเท่าที่จำเป็น และจะ กระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพนั้นมิได้
มาตรา ๓๒ บุคคลทุกคนย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย การทรมาน ทารุณกรรม หรือการลงโทษด้วยวิธีการ โหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรม จะกระทำมิได้
เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วการใช้สิทธิทางศาลจึงย่อมเป็นหนทางหนึ่งในการใช้สันติวิธี ในการเรียกร้องหาความเป็นธรรม ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ในระดับหนึ่งว่า ความยุติธรรมนั้นมีจริงในสถานการณ์ภาคใต้ ที่.ให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายมีสิทธิใช้กฎหมายได้ทั้งสิ้นไม่เฉพาะแต่ฝ่าย จนท. หรือเพียงแต่เรียกร้องความเป็นธรรมไปเรื่อยโดยไม่สนใจที่จะแสวงหาความยุติธรรมตามกฎหมายเอง
เราต้องเชื่อมั่นว่าวิถีทางที่จะได้มาซึ่งความเป็นธรรมนั้น มีอยู่จริง และเป็นช่องทางหนึ่งของการแก้ไขความขัดแย้งได้ และจะทำให้พวกเราชาวชาติเชื้อไทยสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบไม่ว่าจะนับถือศาสนาใดเพราะเคารพกฎ กติกา ของสังคม นั่นเอง

วันพฤหัสบดีที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2553

โจรลวงนำคลิปอนาจารเผยแพร่ใส่ร้ายทหาร

พี่น้องมุสลิมระวังภัยมืดที่มองไม่เห็นเพราะมีกลุ่มโจรออนไลน์ได้นำคลิปอนาจารมาเผยแพร่หลอกลวงพวกเราให้เข้าใจว่าทหารข่มเหงมุสลีมะห์ การกระทำเช่นนี้ส่อเจตนาความเป็นโจรสร้างความแตกแยกในสังคมเรา หากผู้ใดเคยพบเห็นพฤติการณ์ดังกล่าวโปรดช่วยกันขับไล่และกำจัดออกไปจากสังคมเรา เพราะมันดูถูกพี่น้องเราอย่างแรงที่คิดว่าจะทำให้พี่น้องเชื่อมันได้ง่าย ๆ ทีมงานเรา patanimerdeka ได้เห็นพฤติการณ์ของโจรกลุ่มนี้และคลิปอนาจารของพวกมันแล้ว และหากพี่น้องที่เคยเห็นจะสังเกตได้ว่าแม้สถานที่เกิดเหตุยังไม่ระบุความชัดเจนเพราะมันไม่ใช่เรื่องจริง หญิงที่ถูกขืนก็ไม่ใช่มุสลิมแต่เป็นดาราวีดีโอที่รับค่าจ้างมาปลุกใจเสือป่าที่เห็นกันดาดดื่นตามตลาดซึ่งส่อให้เห็นว่าเป็นโจรใจต่ำอย่างแท้จริง หากจะว่าไปแล้วพวกมันนั้นแหละที่เป็นโจรซีแยที่พวกเราต้องช่วยกันขับไล่ออกไปจากสังคม ขอให้พวกเรายึดหลักใครทำดีเราต้องสนับสนุนและให้กำลังใจเหล่าทหารพรานที่เสียสละพลีชีพปกป้องรักษาความสงบสุขในแผ่นดินไทย ขอให้พี่น้องเรามุสลิมในไทยระลึกเสมอว่าไม่มีแผ่นดินใดจะสุขสงบเสรีเสมอภาคเช่นนี้แล้ว ขออัลลอฮเมตตาพี่น้องเราและเหล่าทหารด้วย

วันจันทร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เปิดผลชันสูตรศพ"สุไลมาน" ไม่พบร่องรอยถูกทำร้าย

โต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรารายงานข่าวเมื่อ 2 มิ.ย.53 กรณีการเสียชีวิตของ นายสุไลมาน แนซา อายุ 25 ปี ระหว่างถูกคุมตัวโดยทหาร คาศูนย์เสริมสร้างความสมานฉันท์ ภายในค่ายอิงคยุทธบริหาร อ.หนองจิก จ.ปัตตานี เมื่อวันอาทิตย์ที่ 30 พ.ค.ที่ผ่านมา กำลังเป็นประเด็นอ่อนไหวอย่างยิ่งในพื้นที่ ล่าสุดผลการชันสูตรศพโดยคณะแพทย์ได้สรุปออกมาแล้ว ปรากฏว่าไม่พบร่องรอย "คอหัก" หรือ "ถูกทำร้าย" ตามที่สงสัยกันในเบื้องต้น อย่างไรก็ดี ยังต้องรอผลการตรวจดีเอ็นเอยืนยันซ้ำอีกครั้ง
ผลการชันสูตรศพ นายสุไลมาน โดยแพทย์จากโรงพยาบาลหนองจิก จ.ปัตตานี ระบุรายละเอียดดังนี้ เยื่อบุตาไม่มีเส้นเลือดในดวงตา สภาพศพ ลิ้นจุกปาก ไม่พบร่องรอยคล้ำตามตัว มีบาดแผลถลอกและมีเลือดออกบริเวณขอบกางเกงกับลูกอัณฑะ มีมดไต่ตามตัว พบการแข็งตัวของกล้ามเนื้อ บริเวณมือกับขามีจ้ำแดงของการแตกตัวของเม็ดเลือด ด้านหลังตามผิวหนังมีรอยกดจากเหล็กดัดหน้าต่างจุดที่ใช้ผูกคอ ที่ลำคอมีรอยเป็นจ้ำเลือดจากความแน่นของเชือกที่ผูก และน้ำหนักตัวตามแรงโน้มถ่วงของโลก
คาดว่าเสียชีวิตมาแล้ว 8-12 ชั่วโมง สาเหตุการเสียชีวิตเพราะขาดอากาศหายใจและเลือดไปเลี้ยงสมองไม่ได้
ผลการชันสูตรศพ แพทย์ไม่ได้ระบุว่าคอหักตามที่มีการสันนิษฐานของหลายฝ่ายก่อนหน้านี้แต่อย่างใด

จนท.นิติเวชแจงเหตุเลือดไหล-ขาติดพื้น
เจ้าหน้าที่ด้านนิติเวชวิทยา ให้ข้อมูลกับทีมข่าวฯถึงสาเหตุที่มีเลือดออกตามอวัยวะเพศของผู้ตายว่า เวลาคนตาย สารคัดหลั่งมีโอกาสไหลออกมาได้ตามปกติ เพราะเลือดไม่สามารถหมุนเวียนตามร่างกายได้อีกแล้ว สารคัดหลั่งประเภทเลือดและสารอื่นๆ จึงมีโอกาสที่จะไหลออกมา นอกจากนั้นยังมีการแตกตัวของเส้นเลือด บางคนที่เสียชีวิตแล้วมีเลือดออกจมูก ก็เป็นเพราะเส้นเลือดแตกตัว
เจ้าหน้าที่รายนี้บอกด้วยว่า นอกจากผลการชันสูตรศพอย่างละเอียดจากแพทย์แล้ว ยังมีผลพิสูจน์สารพันธุกรรม หรือดีเอ็นเอ เพื่อหาร่องรอยของบุคคลอื่นที่อาจเข้าไปในห้อง หรือเกี่ยวพันกับการเสียชีวิตด้วย โดยได้ตรวจดีเอ็นเอบนผ้าเช็ดตัวและสิ่งของต่างๆ ภายในห้องของผู้ตาย คาดว่าอีกราว 2 สัปดาห์จะได้ผลเรียบร้อย
"ส่วนที่สงสัยกันว่าขาของผู้ตายติดพื้น จะผูกคอตายได้อย่างไรนั้น จริงๆ แล้วแม้แต่ท่านั่งก็ยังพูดคอตายได้ ขอให้สังเกตสภาพศพของผู้ตายช่วงที่ยังไม่ได้เคลื่อนย้าย จะพบว่าขาไขว้กัน และมีการเกร็งของมือ แสดงให้เห็นว่าน่าจะเป็นการผูกคอตัวเอง เพราะมีการเกร็งของมือและไขว้ขวาก่อนเสียชีวิต ต่างจากการทำร้ายจนตายแล้วนำศพมาจัดฉาก เพราะมือกับขาจะไม่มีทางจัดให้เป็นลักษณะนี้ได้" เจ้าหน้าที่นิติเวช ระบุ


เปิดบันทึกเยี่ยมรายวันส่วนใหญ่เป็นญาติ
ทีมข่าวฯยังได้เดินทางไปที่ศูนย์เสริมสร้างความสมานฉันท์ ภายในค่ายอิงคยุทธบริหาร อ.หนองจิก จ.ปัตตานี เพื่อขอตรวจสอบบันทึกการเยี่ยมของนายสุไลมานด้วย ว่ามีบุคคลแปลกปลอมที่ไม่ใช่ญาติเข้าเยี่ยมบ้างหรือไม่
ผลปรากฏว่าวันที่มีคนมาเยี่ยมนายสุไลมานมากที่สุด คือวันที่ 23 พ.ค. ซึ่งเป็นช่วง 1 วันหลังจากถูกจับกุม โดยส่วนใหญ่จะเป็นญาติพี่น้อง จากนั้นพ่อกับแม่ของนายสุไลมานเดินทางเข้าเยี่ยมทุกวัน โดยวันที่ 27 พ.ค.ช่วงเช้า พ่อกับแม่ไปเยี่ยมตามปกติ แต่ไม่ได้เข้าเยี่ยม เพราะเจ้าหน้าที่พาออกไปค้นหาหลักฐานตามผลการซักถาม
วันที่ 28 พ.ค.ช่วงเช้า เจ้าหน้าที่พาออกไปค้นหาอาวุธปืนและบุคคลที่นายสุไลมานซัดทอดว่าอยู่กลุ่มเดียวกับเขา โดยการลงพื้นที่ตรวจค้นครั้งนี้ กลับไปที่บ้านที่ อ.สายบุรี จ.ปัตตานี ด้วย และนายสุไลมานยังไปเจอแม่กับผู้ชายอีกคนหนึ่งซึ่งไม่แน่ชัดว่าเป็นญาติกันหรือไม่ จากนั้นเจ้าหน้าที่ก็พากลับศูนย์เสริมสร้างความสมานฉันท์ แล้วในช่วงบ่ายพ่อกับน้องสาวก็เดินทางเข้าเยี่ยม และเป็นวันที่นำผ้าขนหนูกับลูกประกคำมามอบให้ ส่วนวันที่ 29 พ.ค.ช่วงบ่าย น้องสาวกับน้าสาวเดินทางมาเยี่ยม
เจ้าหน้าที่ทหารที่ร่วมคุมตัวนายสุไลมานเดินทางไปค้นหาอาวุธปืนที่ อ.สายบุรี เล่าว่า วันที่เข้าไปค้น นายสุไลมานยังบอกให้เจ้าหน้าที่เข้าพื้นที่อย่างระมัดระวัง เพราะฝ่ายผู้ก่อเหตุรุนแรงอาจฝังระเบิดเอาไว้ก็ได้ แสดงให้เห็นถึงน้ำใจของนายสุไลมาน ฉะนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่เจ้าหน้าที่จะทำร้าย ส่วนวันที่เจ้าหน้าที่ไม่อนุญาตให้พ่อกับแม่พบนายสุไลมาน ก็คือวันที่พาลงพื้นที่ไปค้นหาหลักฐาน เพราะมีระเบียบว่าจะไม่บอกญาติ เนื่องจากเป็นปฏิบัติการในทางลับ

เพื่อนข้างห้อง : ไม่ได้ยินเสียงผิดปกติ
จากที่ได้โอกาสเข้าไปตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุอีกรอบ ทำให้ทีมข่าวฯได้พูดคุยกับผู้ถูกควบคุมตัวอีก 2 ราย และได้สอบถามถึงการเสียชีวิตของนายสุไลมาน
นายดิง (ชื่อสมมติ และสงวนนามสกุล) ผู้ต้องสงสัยคดีความมั่นคงที่ถูกควบคุมตัวอยู่ในศูนย์เสริมสร้างความสมานฉันท์ เล่าว่า รู้จักกับนายสุไลมานมานาน และเคยเข้าร่วมซุมเปาะ (สาบาน) พร้อมกับนายสุไลมานด้วย
“ผมกับเขาเข้าซุมเปาะเพื่อร่วมขบวนการพร้อมกัน และรู้จักกันในขบวนการ โดยมีนายปะดอ (สงวนนามสกุล) เป็นผู้ชักชวน และทุกครั้งที่มีการเรียกตัว สุไลมานจะเป็นคนมาตามผม เราเข้าขบวนการมาแล้วประมาณ 1 ปี”
"สุไลมานเข้ากับเพื่อนๆ ทุกคนได้เป็นอย่างดี แต่ค่อนข้างจะพูดน้อยและเก็บตัว ผมมาอยู่ที่ศูนย์ฯหลังเขา มาเจอกันในศูนย์ฯ ได้พูดคุยและทักทายกันตามปกติ รู้สึกตกใจมากเมื่อรู้ว่าเขาผูกคอในห้องพัก เพราะช่วงเย็นวันก่อนที่จะพบศพก็ได้เจอกัน และยังยิ้มแย้มทักทายกันตามปกติ สุไลมานไม่ได้แสดงสีหน้าเครียดหรือไม่สบายใจอะไร จึงไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมเขาถึงผูกคอตาย”
ขณะที่ นายรอบี (ชื่อสมมติและสงวนนามสกุล) ผู้ต้องสงสัยอีกรายหนึ่งที่ถูกควบคุมตัวอยู่ภายในศูนย์ฯ และพักห้องติดกับนายสุไลมาน เล่าว่า เข้ามาอยู่ที่ศูนย์ฯก่อนสุไลมาน เมื่อสุไลมานเข้ามาก็สังเกตเห็นว่าวันแรกและวันที่สองไม่ค่อยพูดคุยกับใครเลย แต่พอเข้าวันที่สาม เขาก็เริ่มพูดคุยและออกมาเล่นฟุตบอลกับเพื่อนๆ คนอื่น ไม่ได้มีอะไรผิดปกติ เพียงแต่เป็นคนที่พูดน้อยเท่านั้น
“ในช่วงเย็นก่อนวันที่เขาจะเสียชีวิต เขาก็ยังมาเล่นฟุตบอลกับเพื่อนๆ อยู่เลย พอตกกลางคืนประมาณ 3 ทุ่ม ผมเข้าห้องพักก่อน และได้ยินเสียงสุไลมานเข้าห้องพักประมาณ 4 ทุ่ม หลังจากนั้นได้ยินเสียงเปิดน้ำ เข้าใจว่าเขาคงจะอาบน้ำตามปกติทุกวัน เลยไม่ได้สนใจอะไร กระทั่งนอนหลับไป”
“ผมตื่นประมาณตี 5 เพื่อละหมาด จนกระทั่งประมาณเกือบ 6 โมงเช้า เพื่อนภายในศูนย์ฯมาเรียกเพราะเขาเอาอาหารเช้ามาแจก ผมได้ยินเสียงคนที่นำอาหารเช้ามาแจกเรียกสุไลมานอยู่นาน และได้ยินเสียงเปิดประตูเข้าไป ไม่นานก็วิ่งมาเรียกผมเข้าไปในห้องของสุไลมาน ก็พบว่าสุไลมานผูกคอตายอยู่กับหน้าต่างภายในห้องพัก จึงรีบวิ่งไปแจ้งเจ้าหน้าที่ของศูนย์ฯทันที”
“ตอนนั้นรู้สึกตกใจมาก และไม่คิดว่าจะเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น เพราะเมื่อวานยังเจอเขาอยู่เลย ไม่คาดคิดเลยว่าเขาจะผูกคอตาย”
นายรอบี กล่าวด้วยว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเชื่อว่าสุไลมานคงผูกคอตายเอง ไม่ได้มีใครเข้ามาทำร้าย
“หากมีใครเข้าไปทำร้ายเขา ผมและเพื่อนๆ ที่อยู่ห้องติดๆ กันคงได้ยินเสียงร้องบ้าง เพราะผนังห้องและหน้าต่างเราติดกัน บางวันที่เขาอ่านอัลกุรอาน ผมยังได้ยินเลย หรือหากว่าจะมีใครเข้ามาทำร้าย ก็ต้องเดินผ่านหน้าห้องผมก่อน ผมก็จะต้องได้ยินเสียง แต่คืนนั้นไม่ได้ยินเสียงใครเลย” นายรอบี กล่าว
ทั้งหมดคือข้อมูลความเห็นจากทุกด้านที่สาธารณชนจักเป็นผู้ตัดสินว่าจะเชื่อใคร!

วันอังคารที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

สภาฝรั่งเศสเมิดสิทธิมุสลิมะห์ประณามคลุมฮิญาบปิดหน้า เตรียมออกกฏหมายห้าม



รัฐสภาฝรั่งเศสวานนี้(11) มีมติเอกฉันท์รับรองมาตรการประณามการแต่งกายแบบบุรเกาะว่าเป็นการปรามาสค่า นิยมของประเทศ และเตรียมเข้าสู่ขั้นตอนออกกฎหมายห้ามสวมใส่ สวนทางกรรมการสิทธิยุโรปชี้ กฏหมายดังกล่าวถือเป็นการละเมิดสิทธิ์
ผลการลงมติในรัฐสภา ทำให้ฝรั่งเศส อยู่บนเส้นทางการเป็นชาติที่ 2 ในยุโรปต่อจากเบลเยียม ที่ประกาศว่าการสวมชุดบุรกาหรือการแต่งกายปกคลุมร่างกายจนหมดโดยเหลือเพียง แต่ดวงตาในที่สาธารณะเป็นสิ่งผิดกฎหมาย พรรคฝ่ายขวายูเอ็มพีของประธานาธิบดีนิโกลาส์ ซาร์โกซีและพรรคฝ่ายค้านโซเชียลลิสต์ แสดงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแบบไม่พบเห็นบ่อยครั้งนักด้วยการสนับสนุน มาตรการที่ยังไม่มีข้อผูกผันทางกฎหมายที่ประกาศว่าการแต่งกายแบบบุรเกาะขัดกับ ค่านิยมของประเทศ มาตรการที่ยังไม่มีข้อผูกพันทางกฎหมายนี้ได้รับความเห็นชอบด้วยคะแนน โหวต 434 เสียงต่อ 0 จากสมาชิกรัฐสภาทั้งหมด 577 คน แม้มีผู้แทนฯจากพรรคคอมมิวนิสต์ราว 30 คน ทำการวอล์คเอาต์เพื่อประท้วง สัปดาห์หน้า คณะรัฐมนตรีของซาร์โกซี จะตรวจสอบร่างพระราชบัญญัติที่จะกำหนดโทษปรับในอัตราสูง และจำคุก ต่อผู้หญิงที่สวมชุดบุรกา และลงโทษจำคุกผู้ชายที่บังคับภรรยาหรือลูกสาวให้สวมชุดปกคลุมทั้งเรือนร่างนี้ จากนั้นร่างพระราชบัญญัตินี้จะถูกนำเข้าสู่สภาอีกครั้งในเดือน กรกฎาคม ซึ่งอาจเจอเสียงคัดค้านข้อเสนอที่กำหนดให้การสวมชุดบุรเกาะในที่สาธารณะเป็น สิ่งผิดกฎหมายในหลายเหตุผลด้านความมั่นคง เสียงโต้แย้งเกี่ยวกับคำสั่งห้ามสวมชุกบุรเกาะ ก่อคำเตือนว่ามันอาจจุดชนวนความตึงเครียดในประเทศที่มีชาวมุสลิม อาศัยอยู่มากที่สุดในยุโรป ราว 5 ถึง 6 ล้านคน และอิสลามเป็นศาสนาลำดับสองของประเทศ ในมาตรการประณาม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประกาศว่า "การปฏิบัติตนซึ่งละเมิดเกียรติภูมิและความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย อย่างเช่นกันการสวมชุมปกปิดเรือนร่างทั้งหมด ขัดแย้งกับค่านิยมของประเทศ" อย่างไรก็ตามประธานของสภามุสลิมฝรั่งเศส เตือนว่าคำสั่งห้ามนี้อาจทำให้ชาวมุสลิมในประเทศรู้สึกเหมือนถูกทอดทิ้ง ขณะที่นักการเมืองหลายคนก็เตือนว่ากฎหมายนี้อาจก่อผลกระทบต่อนักท่องเที่ยว ผู้มั่งคั่งจากตะวันออกกลางและอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งบ่อยครั้งที่มักสวมชุดบุรเกาะออกจับจ่ายตามร้านหรูบนถนนต่างๆในปารีส
ทั้งนี้คณะกรรมการสิทธิมนุษชนของยุโรปได้ออกมาเตือนถึงการออกกฏหมายดังกล่าว ว่าอาจเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนได้/ASTV