วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2553
ความจริงคือ 6 นักศึกษายะลายอมรับเคยร่วมก่อเหตุร้ายเหตุใดอ้างเพียงถูกทำร้ายในค่ายทหาร
ญาติของนักศึกษา 3 คน จึงได้ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยตัวนักศึกษาที่ถูกจับกุม โดยอ้างมาตรา 90 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งบัญญัติว่า "เมื่อมีการอ้างว่าบุคคลใดต้องถูกควบคุมในคดีอาญา หรือในกรณีอื่นใด โดยมิชอบด้วยกฎหมาย บุคคลเหล่านี้ มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลท้องที่ที่มีอำนาจพิจารณาคดีอาญา ขอให้ปล่อย คือ ....." และได้อ้างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ดังนี้
· มาตรา ๔ บัญญัติว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอ ภาคของบุคคล ย่อมได้รับความคุ้มครอง
· มาตรา ๕ บัญญัติว่า ประชาชนชาวไทย ไม่ว่าเหล่ากำเนิด เพศ หรือศาสนาใด ย่อมอยู่ในความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญนี้เสมอกัน
· มาตรา ๖ บัญญัติว่า รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้
· มาตรา ๒๙ บัญญัติว่า การจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อการที่รัฐธรรมนูญนี้กำหนดไว้และเท่าที่จำเป็น และจะ กระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพนั้นมิได้
มาตรา ๓๒ บุคคลทุกคนย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย การทรมาน ทารุณกรรม หรือการลงโทษด้วยวิธีการ โหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรม จะกระทำมิได้
เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วการใช้สิทธิทางศาลจึงย่อมเป็นหนทางหนึ่งในการใช้สันติวิธี ในการเรียกร้องหาความเป็นธรรม ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ในระดับหนึ่งว่า ความยุติธรรมนั้นมีจริงในสถานการณ์ภาคใต้ ที่.ให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายมีสิทธิใช้กฎหมายได้ทั้งสิ้นไม่เฉพาะแต่ฝ่าย จนท. หรือเพียงแต่เรียกร้องความเป็นธรรมไปเรื่อยโดยไม่สนใจที่จะแสวงหาความยุติธรรมตามกฎหมายเอง
เราต้องเชื่อมั่นว่าวิถีทางที่จะได้มาซึ่งความเป็นธรรมนั้น มีอยู่จริง และเป็นช่องทางหนึ่งของการแก้ไขความขัดแย้งได้ และจะทำให้พวกเราชาวชาติเชื้อไทยสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบไม่ว่าจะนับถือศาสนาใดเพราะเคารพกฎ กติกา ของสังคม นั่นเอง
วันพฤหัสบดีที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2553
โจรลวงนำคลิปอนาจารเผยแพร่ใส่ร้ายทหาร
วันจันทร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2553
เปิดผลชันสูตรศพ"สุไลมาน" ไม่พบร่องรอยถูกทำร้าย
ผลการชันสูตรศพ นายสุไลมาน โดยแพทย์จากโรงพยาบาลหนองจิก จ.ปัตตานี ระบุรายละเอียดดังนี้ เยื่อบุตาไม่มีเส้นเลือดในดวงตา สภาพศพ ลิ้นจุกปาก ไม่พบร่องรอยคล้ำตามตัว มีบาดแผลถลอกและมีเลือดออกบริเวณขอบกางเกงกับลูกอัณฑะ มีมดไต่ตามตัว พบการแข็งตัวของกล้ามเนื้อ บริเวณมือกับขามีจ้ำแดงของการแตกตัวของเม็ดเลือด ด้านหลังตามผิวหนังมีรอยกดจากเหล็กดัดหน้าต่างจุดที่ใช้ผูกคอ ที่ลำคอมีรอยเป็นจ้ำเลือดจากความแน่นของเชือกที่ผูก และน้ำหนักตัวตามแรงโน้มถ่วงของโลก
คาดว่าเสียชีวิตมาแล้ว 8-12 ชั่วโมง สาเหตุการเสียชีวิตเพราะขาดอากาศหายใจและเลือดไปเลี้ยงสมองไม่ได้
ผลการชันสูตรศพ แพทย์ไม่ได้ระบุว่าคอหักตามที่มีการสันนิษฐานของหลายฝ่ายก่อนหน้านี้แต่อย่างใด
จนท.นิติเวชแจงเหตุเลือดไหล-ขาติดพื้น
เจ้าหน้าที่ด้านนิติเวชวิทยา ให้ข้อมูลกับทีมข่าวฯถึงสาเหตุที่มีเลือดออกตามอวัยวะเพศของผู้ตายว่า เวลาคนตาย สารคัดหลั่งมีโอกาสไหลออกมาได้ตามปกติ เพราะเลือดไม่สามารถหมุนเวียนตามร่างกายได้อีกแล้ว สารคัดหลั่งประเภทเลือดและสารอื่นๆ จึงมีโอกาสที่จะไหลออกมา นอกจากนั้นยังมีการแตกตัวของเส้นเลือด บางคนที่เสียชีวิตแล้วมีเลือดออกจมูก ก็เป็นเพราะเส้นเลือดแตกตัว
เจ้าหน้าที่รายนี้บอกด้วยว่า นอกจากผลการชันสูตรศพอย่างละเอียดจากแพทย์แล้ว ยังมีผลพิสูจน์สารพันธุกรรม หรือดีเอ็นเอ เพื่อหาร่องรอยของบุคคลอื่นที่อาจเข้าไปในห้อง หรือเกี่ยวพันกับการเสียชีวิตด้วย โดยได้ตรวจดีเอ็นเอบนผ้าเช็ดตัวและสิ่งของต่างๆ ภายในห้องของผู้ตาย คาดว่าอีกราว 2 สัปดาห์จะได้ผลเรียบร้อย
"ส่วนที่สงสัยกันว่าขาของผู้ตายติดพื้น จะผูกคอตายได้อย่างไรนั้น จริงๆ แล้วแม้แต่ท่านั่งก็ยังพูดคอตายได้ ขอให้สังเกตสภาพศพของผู้ตายช่วงที่ยังไม่ได้เคลื่อนย้าย จะพบว่าขาไขว้กัน และมีการเกร็งของมือ แสดงให้เห็นว่าน่าจะเป็นการผูกคอตัวเอง เพราะมีการเกร็งของมือและไขว้ขวาก่อนเสียชีวิต ต่างจากการทำร้ายจนตายแล้วนำศพมาจัดฉาก เพราะมือกับขาจะไม่มีทางจัดให้เป็นลักษณะนี้ได้" เจ้าหน้าที่นิติเวช ระบุ
เปิดบันทึกเยี่ยมรายวันส่วนใหญ่เป็นญาติ
ทีมข่าวฯยังได้เดินทางไปที่ศูนย์เสริมสร้างความสมานฉันท์ ภายในค่ายอิงคยุทธบริหาร อ.หนองจิก จ.ปัตตานี เพื่อขอตรวจสอบบันทึกการเยี่ยมของนายสุไลมานด้วย ว่ามีบุคคลแปลกปลอมที่ไม่ใช่ญาติเข้าเยี่ยมบ้างหรือไม่
ผลปรากฏว่าวันที่มีคนมาเยี่ยมนายสุไลมานมากที่สุด คือวันที่ 23 พ.ค. ซึ่งเป็นช่วง 1 วันหลังจากถูกจับกุม โดยส่วนใหญ่จะเป็นญาติพี่น้อง จากนั้นพ่อกับแม่ของนายสุไลมานเดินทางเข้าเยี่ยมทุกวัน โดยวันที่ 27 พ.ค.ช่วงเช้า พ่อกับแม่ไปเยี่ยมตามปกติ แต่ไม่ได้เข้าเยี่ยม เพราะเจ้าหน้าที่พาออกไปค้นหาหลักฐานตามผลการซักถาม
วันที่ 28 พ.ค.ช่วงเช้า เจ้าหน้าที่พาออกไปค้นหาอาวุธปืนและบุคคลที่นายสุไลมานซัดทอดว่าอยู่กลุ่มเดียวกับเขา โดยการลงพื้นที่ตรวจค้นครั้งนี้ กลับไปที่บ้านที่ อ.สายบุรี จ.ปัตตานี ด้วย และนายสุไลมานยังไปเจอแม่กับผู้ชายอีกคนหนึ่งซึ่งไม่แน่ชัดว่าเป็นญาติกันหรือไม่ จากนั้นเจ้าหน้าที่ก็พากลับศูนย์เสริมสร้างความสมานฉันท์ แล้วในช่วงบ่ายพ่อกับน้องสาวก็เดินทางเข้าเยี่ยม และเป็นวันที่นำผ้าขนหนูกับลูกประกคำมามอบให้ ส่วนวันที่ 29 พ.ค.ช่วงบ่าย น้องสาวกับน้าสาวเดินทางมาเยี่ยม
เจ้าหน้าที่ทหารที่ร่วมคุมตัวนายสุไลมานเดินทางไปค้นหาอาวุธปืนที่ อ.สายบุรี เล่าว่า วันที่เข้าไปค้น นายสุไลมานยังบอกให้เจ้าหน้าที่เข้าพื้นที่อย่างระมัดระวัง เพราะฝ่ายผู้ก่อเหตุรุนแรงอาจฝังระเบิดเอาไว้ก็ได้ แสดงให้เห็นถึงน้ำใจของนายสุไลมาน ฉะนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่เจ้าหน้าที่จะทำร้าย ส่วนวันที่เจ้าหน้าที่ไม่อนุญาตให้พ่อกับแม่พบนายสุไลมาน ก็คือวันที่พาลงพื้นที่ไปค้นหาหลักฐาน เพราะมีระเบียบว่าจะไม่บอกญาติ เนื่องจากเป็นปฏิบัติการในทางลับ
เพื่อนข้างห้อง : ไม่ได้ยินเสียงผิดปกติ
จากที่ได้โอกาสเข้าไปตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุอีกรอบ ทำให้ทีมข่าวฯได้พูดคุยกับผู้ถูกควบคุมตัวอีก 2 ราย และได้สอบถามถึงการเสียชีวิตของนายสุไลมาน
นายดิง (ชื่อสมมติ และสงวนนามสกุล) ผู้ต้องสงสัยคดีความมั่นคงที่ถูกควบคุมตัวอยู่ในศูนย์เสริมสร้างความสมานฉันท์ เล่าว่า รู้จักกับนายสุไลมานมานาน และเคยเข้าร่วมซุมเปาะ (สาบาน) พร้อมกับนายสุไลมานด้วย
“ผมกับเขาเข้าซุมเปาะเพื่อร่วมขบวนการพร้อมกัน และรู้จักกันในขบวนการ โดยมีนายปะดอ (สงวนนามสกุล) เป็นผู้ชักชวน และทุกครั้งที่มีการเรียกตัว สุไลมานจะเป็นคนมาตามผม เราเข้าขบวนการมาแล้วประมาณ 1 ปี”
"สุไลมานเข้ากับเพื่อนๆ ทุกคนได้เป็นอย่างดี แต่ค่อนข้างจะพูดน้อยและเก็บตัว ผมมาอยู่ที่ศูนย์ฯหลังเขา มาเจอกันในศูนย์ฯ ได้พูดคุยและทักทายกันตามปกติ รู้สึกตกใจมากเมื่อรู้ว่าเขาผูกคอในห้องพัก เพราะช่วงเย็นวันก่อนที่จะพบศพก็ได้เจอกัน และยังยิ้มแย้มทักทายกันตามปกติ สุไลมานไม่ได้แสดงสีหน้าเครียดหรือไม่สบายใจอะไร จึงไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมเขาถึงผูกคอตาย”
ขณะที่ นายรอบี (ชื่อสมมติและสงวนนามสกุล) ผู้ต้องสงสัยอีกรายหนึ่งที่ถูกควบคุมตัวอยู่ภายในศูนย์ฯ และพักห้องติดกับนายสุไลมาน เล่าว่า เข้ามาอยู่ที่ศูนย์ฯก่อนสุไลมาน เมื่อสุไลมานเข้ามาก็สังเกตเห็นว่าวันแรกและวันที่สองไม่ค่อยพูดคุยกับใครเลย แต่พอเข้าวันที่สาม เขาก็เริ่มพูดคุยและออกมาเล่นฟุตบอลกับเพื่อนๆ คนอื่น ไม่ได้มีอะไรผิดปกติ เพียงแต่เป็นคนที่พูดน้อยเท่านั้น
“ในช่วงเย็นก่อนวันที่เขาจะเสียชีวิต เขาก็ยังมาเล่นฟุตบอลกับเพื่อนๆ อยู่เลย พอตกกลางคืนประมาณ 3 ทุ่ม ผมเข้าห้องพักก่อน และได้ยินเสียงสุไลมานเข้าห้องพักประมาณ 4 ทุ่ม หลังจากนั้นได้ยินเสียงเปิดน้ำ เข้าใจว่าเขาคงจะอาบน้ำตามปกติทุกวัน เลยไม่ได้สนใจอะไร กระทั่งนอนหลับไป”
“ผมตื่นประมาณตี 5 เพื่อละหมาด จนกระทั่งประมาณเกือบ 6 โมงเช้า เพื่อนภายในศูนย์ฯมาเรียกเพราะเขาเอาอาหารเช้ามาแจก ผมได้ยินเสียงคนที่นำอาหารเช้ามาแจกเรียกสุไลมานอยู่นาน และได้ยินเสียงเปิดประตูเข้าไป ไม่นานก็วิ่งมาเรียกผมเข้าไปในห้องของสุไลมาน ก็พบว่าสุไลมานผูกคอตายอยู่กับหน้าต่างภายในห้องพัก จึงรีบวิ่งไปแจ้งเจ้าหน้าที่ของศูนย์ฯทันที”
“ตอนนั้นรู้สึกตกใจมาก และไม่คิดว่าจะเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น เพราะเมื่อวานยังเจอเขาอยู่เลย ไม่คาดคิดเลยว่าเขาจะผูกคอตาย”
นายรอบี กล่าวด้วยว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเชื่อว่าสุไลมานคงผูกคอตายเอง ไม่ได้มีใครเข้ามาทำร้าย
“หากมีใครเข้าไปทำร้ายเขา ผมและเพื่อนๆ ที่อยู่ห้องติดๆ กันคงได้ยินเสียงร้องบ้าง เพราะผนังห้องและหน้าต่างเราติดกัน บางวันที่เขาอ่านอัลกุรอาน ผมยังได้ยินเลย หรือหากว่าจะมีใครเข้ามาทำร้าย ก็ต้องเดินผ่านหน้าห้องผมก่อน ผมก็จะต้องได้ยินเสียง แต่คืนนั้นไม่ได้ยินเสียงใครเลย” นายรอบี กล่าว
ทั้งหมดคือข้อมูลความเห็นจากทุกด้านที่สาธารณชนจักเป็นผู้ตัดสินว่าจะเชื่อใคร!
วันอังคารที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
สภาฝรั่งเศสเมิดสิทธิมุสลิมะห์ประณามคลุมฮิญาบปิดหน้า เตรียมออกกฏหมายห้าม

รัฐสภาฝรั่งเศสวานนี้(11) มีมติเอกฉันท์รับรองมาตรการประณามการแต่งกายแบบบุรเกาะว่าเป็นการปรามาสค่า นิยมของประเทศ และเตรียมเข้าสู่ขั้นตอนออกกฎหมายห้ามสวมใส่ สวนทางกรรมการสิทธิยุโรปชี้ กฏหมายดังกล่าวถือเป็นการละเมิดสิทธิ์
ผลการลงมติในรัฐสภา ทำให้ฝรั่งเศส อยู่บนเส้นทางการเป็นชาติที่ 2 ในยุโรปต่อจากเบลเยียม ที่ประกาศว่าการสวมชุดบุรกาหรือการแต่งกายปกคลุมร่างกายจนหมดโดยเหลือเพียง แต่ดวงตาในที่สาธารณะเป็นสิ่งผิดกฎหมาย พรรคฝ่ายขวายูเอ็มพีของประธานาธิบดีนิโกลาส์ ซาร์โกซีและพรรคฝ่ายค้านโซเชียลลิสต์ แสดงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแบบไม่พบเห็นบ่อยครั้งนักด้วยการสนับสนุน มาตรการที่ยังไม่มีข้อผูกผันทางกฎหมายที่ประกาศว่าการแต่งกายแบบบุรเกาะขัดกับ ค่านิยมของประเทศ มาตรการที่ยังไม่มีข้อผูกพันทางกฎหมายนี้ได้รับความเห็นชอบด้วยคะแนน โหวต 434 เสียงต่อ 0 จากสมาชิกรัฐสภาทั้งหมด 577 คน แม้มีผู้แทนฯจากพรรคคอมมิวนิสต์ราว 30 คน ทำการวอล์คเอาต์เพื่อประท้วง สัปดาห์หน้า คณะรัฐมนตรีของซาร์โกซี จะตรวจสอบร่างพระราชบัญญัติที่จะกำหนดโทษปรับในอัตราสูง และจำคุก ต่อผู้หญิงที่สวมชุดบุรกา และลงโทษจำคุกผู้ชายที่บังคับภรรยาหรือลูกสาวให้สวมชุดปกคลุมทั้งเรือนร่างนี้ จากนั้นร่างพระราชบัญญัตินี้จะถูกนำเข้าสู่สภาอีกครั้งในเดือน กรกฎาคม ซึ่งอาจเจอเสียงคัดค้านข้อเสนอที่กำหนดให้การสวมชุดบุรเกาะในที่สาธารณะเป็น สิ่งผิดกฎหมายในหลายเหตุผลด้านความมั่นคง เสียงโต้แย้งเกี่ยวกับคำสั่งห้ามสวมชุกบุรเกาะ ก่อคำเตือนว่ามันอาจจุดชนวนความตึงเครียดในประเทศที่มีชาวมุสลิม อาศัยอยู่มากที่สุดในยุโรป ราว 5 ถึง 6 ล้านคน และอิสลามเป็นศาสนาลำดับสองของประเทศ ในมาตรการประณาม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประกาศว่า "การปฏิบัติตนซึ่งละเมิดเกียรติภูมิและความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย อย่างเช่นกันการสวมชุมปกปิดเรือนร่างทั้งหมด ขัดแย้งกับค่านิยมของประเทศ" อย่างไรก็ตามประธานของสภามุสลิมฝรั่งเศส เตือนว่าคำสั่งห้ามนี้อาจทำให้ชาวมุสลิมในประเทศรู้สึกเหมือนถูกทอดทิ้ง ขณะที่นักการเมืองหลายคนก็เตือนว่ากฎหมายนี้อาจก่อผลกระทบต่อนักท่องเที่ยว ผู้มั่งคั่งจากตะวันออกกลางและอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งบ่อยครั้งที่มักสวมชุดบุรเกาะออกจับจ่ายตามร้านหรูบนถนนต่างๆในปารีส
ทั้งนี้คณะกรรมการสิทธิมนุษชนของยุโรปได้ออกมาเตือนถึงการออกกฏหมายดังกล่าว ว่าอาจเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนได้/ASTV