วันอังคารที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

สภาฝรั่งเศสเมิดสิทธิมุสลิมะห์ประณามคลุมฮิญาบปิดหน้า เตรียมออกกฏหมายห้าม



รัฐสภาฝรั่งเศสวานนี้(11) มีมติเอกฉันท์รับรองมาตรการประณามการแต่งกายแบบบุรเกาะว่าเป็นการปรามาสค่า นิยมของประเทศ และเตรียมเข้าสู่ขั้นตอนออกกฎหมายห้ามสวมใส่ สวนทางกรรมการสิทธิยุโรปชี้ กฏหมายดังกล่าวถือเป็นการละเมิดสิทธิ์
ผลการลงมติในรัฐสภา ทำให้ฝรั่งเศส อยู่บนเส้นทางการเป็นชาติที่ 2 ในยุโรปต่อจากเบลเยียม ที่ประกาศว่าการสวมชุดบุรกาหรือการแต่งกายปกคลุมร่างกายจนหมดโดยเหลือเพียง แต่ดวงตาในที่สาธารณะเป็นสิ่งผิดกฎหมาย พรรคฝ่ายขวายูเอ็มพีของประธานาธิบดีนิโกลาส์ ซาร์โกซีและพรรคฝ่ายค้านโซเชียลลิสต์ แสดงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแบบไม่พบเห็นบ่อยครั้งนักด้วยการสนับสนุน มาตรการที่ยังไม่มีข้อผูกผันทางกฎหมายที่ประกาศว่าการแต่งกายแบบบุรเกาะขัดกับ ค่านิยมของประเทศ มาตรการที่ยังไม่มีข้อผูกพันทางกฎหมายนี้ได้รับความเห็นชอบด้วยคะแนน โหวต 434 เสียงต่อ 0 จากสมาชิกรัฐสภาทั้งหมด 577 คน แม้มีผู้แทนฯจากพรรคคอมมิวนิสต์ราว 30 คน ทำการวอล์คเอาต์เพื่อประท้วง สัปดาห์หน้า คณะรัฐมนตรีของซาร์โกซี จะตรวจสอบร่างพระราชบัญญัติที่จะกำหนดโทษปรับในอัตราสูง และจำคุก ต่อผู้หญิงที่สวมชุดบุรกา และลงโทษจำคุกผู้ชายที่บังคับภรรยาหรือลูกสาวให้สวมชุดปกคลุมทั้งเรือนร่างนี้ จากนั้นร่างพระราชบัญญัตินี้จะถูกนำเข้าสู่สภาอีกครั้งในเดือน กรกฎาคม ซึ่งอาจเจอเสียงคัดค้านข้อเสนอที่กำหนดให้การสวมชุดบุรเกาะในที่สาธารณะเป็น สิ่งผิดกฎหมายในหลายเหตุผลด้านความมั่นคง เสียงโต้แย้งเกี่ยวกับคำสั่งห้ามสวมชุกบุรเกาะ ก่อคำเตือนว่ามันอาจจุดชนวนความตึงเครียดในประเทศที่มีชาวมุสลิม อาศัยอยู่มากที่สุดในยุโรป ราว 5 ถึง 6 ล้านคน และอิสลามเป็นศาสนาลำดับสองของประเทศ ในมาตรการประณาม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประกาศว่า "การปฏิบัติตนซึ่งละเมิดเกียรติภูมิและความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย อย่างเช่นกันการสวมชุมปกปิดเรือนร่างทั้งหมด ขัดแย้งกับค่านิยมของประเทศ" อย่างไรก็ตามประธานของสภามุสลิมฝรั่งเศส เตือนว่าคำสั่งห้ามนี้อาจทำให้ชาวมุสลิมในประเทศรู้สึกเหมือนถูกทอดทิ้ง ขณะที่นักการเมืองหลายคนก็เตือนว่ากฎหมายนี้อาจก่อผลกระทบต่อนักท่องเที่ยว ผู้มั่งคั่งจากตะวันออกกลางและอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งบ่อยครั้งที่มักสวมชุดบุรเกาะออกจับจ่ายตามร้านหรูบนถนนต่างๆในปารีส
ทั้งนี้คณะกรรมการสิทธิมนุษชนของยุโรปได้ออกมาเตือนถึงการออกกฏหมายดังกล่าว ว่าอาจเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนได้/ASTV

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น