วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2553

ความจริงคือ 6 นักศึกษายะลายอมรับเคยร่วมก่อเหตุร้ายเหตุใดอ้างเพียงถูกทำร้ายในค่ายทหาร

ยะลา - ผอ.กองปฏิบัติการข่าวสาร กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 เผย 1 ใน 7 ผู้ต้องสงสัยก่อเหตุไม่สงบในพื้นที่ยะลา ที่ถูกควบคุมตัวรวมทั้ง 6 นักศึกษายะลาได้ยอมรับระหว่างการสอบสวนถึงการร่วมก่อเหตุร้ายในพื้นที่ รวมถึงยังได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมโยงใยถึงแนวร่วมที่ทำงานอยู่ในพื้นที่ด้วย เมื่อ 31 ม.ค.51 ที่ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ค่ายสิรินธร ต.เขาตูม อ.ยะรัง จ.ปัตตานี พ.อ.อัคร ทิพโรจน์ ผู้อำนวยการกองปฏิบัติการข่าวสาร กองอำนวยการรักษาความมั่นคง ภายในภาค 4 ส่วนหน้า เปิดเผยถึงความคืบหน้ากรณีทหารชุด ฉก.11 จับกุมนักศึกษาใน จ.ยะลา และพวกได้รวม 7 คน เมื่อวันที่ 27 ม.ค.ที่ผ่านมา โดยเจ้าหน้าที่ทหารชุด ฉก.11 ได้เข้าตรวจค้นบ้านเช่าห้องแถว ซอยตักวา เนินหูกวาง ย่านฝั่งธนวิถี อ.เมืองยะลา และได้ควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยเป็นกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ 1 คน นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 4 คน และนักศึกษาสถาบันพลศึกษา วิทยาเขตยะลา 2 คน พ.อ.อัคร กล่าวว่า 1 ในผู้ที่ถูกจับกุมตัวได้ในเช้าวันนั้น คือ นายอัสมาดี ประดู่ อายุ 24 ปี อยู่บ้านเลขที่ 12 หมู่ที่ 9 ต.รือเสาะ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส ซึ่งเป็นแนวร่วมคนสำคัญที่ก่อเหตุร้ายในพื้นที่ การเข้าจับกุมตัวนายอัสมาดี เป็นไปตามข่าวสารที่ได้จากการสอบสวน นายนิพา ภูมิภัทรญาณกูร หรือ นายอนันท์ การีอูมา ซึ่งเป็น RKK คนสำคัญ และถูกจับกุมได้เมื่อวันที่ 26 ม.ค.ที่ผ่านมาที่บริเวณหน้าธนาคารไทยพาณิชย์ ถ.สิโรรส ต.สะเตง อ.เมืองยะลา โดยได้ให้การระหว่างการสอบสวนว่า เตรียมการจะก่อเหตุในช่วงเดือน ก.พ. 51 ด้วยการเผารถยนต์หลายคันในเวลาเดียวกัน พร้อมกับระบุอีกว่า ยังมี RKK ที่จะร่วมก่อเหตุด้วย และแจ้งเบาะแสให้จับกุม พ.อ.อัคร กล่าวต่อว่า นายอัสมาดี ประดู่ ได้ให้การรับสารภาพขณะถูกควบคุมตัว และให้การซัดทอดไปยังนายอับดุลอาซิ อารง อยู่บ้านเลขที่ 64/1 หมู่ที่ 4 ต.ริโก๋ อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส และนายซอบรี กาซอ อยู่บ้านเลขที่ 47/3 หมู่ที่ 3 บ้านคางา ต.สะนอ อ.ยะรัง จ.ปัตตานีว่า เคยมีส่วนร่วมในการเตรียมก่อเหตุความไม่สงบในพื้นที่ที่ผ่านมาด้วย ซึ่งทาง ฉก.11 ได้ติดตามจับกุมมาด้วยแล้วทั้ง 2 คน โดยให้การรับสารภาพว่า เคยก่อคดีสำคัญสะเทือนขวัญในเขตเทศบาลนครยะลามาแล้วหลายคดี อาทิ คดียิง นายวินัย สุพรรณ ที่สี่แยกตลาดเก่า ต่อหน้าลูกอายุ 4 ขวบ บนรถยนต์กระบะเสียชีวิต และคดียิง ด.ต.สำเริงเสียชีวิต หลังมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เมื่อเดือน ก.ย.2550 ในการเข้าตรวจค้นเช้าวันที่ 27 ม.ค.ที่ผ่านมายังได้ควบคุมตัวนักศึกายะลา 6 คนไว้ทำการสอบสวนด้วย เนื่องจากพักอยู่รวมกันในขณะเข้าจับกุมตัวนายอัสมาลี โดยนักศึกษาทั้ง 6 คนแบ่งเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 4 คน และนักศึกษาสถาบันพลศึกษา วิทยาเขตยะลา 2 คน ประกอบด้วย 1.นายอัลมี เจ๊ะยอ อายุ 30 ปี อยู่บ้านเลขที่ 32 หมู่ที่ 2 ต.สะกำ อ.มายอ จ.ปัตตานี 2.นายอาหะมะ บาดง อยู่บ้านเลขที่ 9/1 หมู่ที่ 6 ต.ยุโป อ.เมือง จ.ยะลา 3.นายอามีซี มานาก อายุ 23 ปี อยู่บ้านเลขที่ 65 หมู่ที่ 3 ต.กำลอ อ.ยะรัง จ.ปัตตานี 4.นายอิสมาแอเตะ อายุ 23 ปี อยู่บ้านเลขที่ 110 หมู่ที่ 2 ต.มาโมง อ.สุคิริน จ.นราธิวาส 5.นายกูยิ อีแต อายุ 22 ปี อยู่บ้านเลขที่ 80/5 หมู่ที่ 2 ต.บ้านโหนด อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา 6.นายอับดุลเลาะ ดอเลาะ อายุ 24 ปี อยู่บ้านเลขที่ 7/1 หมู่ที่ 2 ต.ปากู อ.ทุ่งยางแดง จ.ปัตตานี พ.อ.อัคร กล่าวเพิ่มเติมว่า พร้อมให้ความเป็นธรรมกับนักศึกษาทั้ง 6 คนที่ถูกควบคุมตัวอยู่หากไม่พบว่ามีส่วนเกี่ยวข้องในการก่อเหตุร้ายในพื้นที่ก็จะปล่อยตัว ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินกรรมวิธีของเจ้าหน้าที่ในการสอบสวนอยู่ ส่วนในการเยี่ยมตัวผู้ต้องสงสัย ญาติสามารถเข้าเยี่ยมได้ แต่หลักจากการควบคุมตัวผ่านไปแล้ว 72 ชั่วโมง และในการอนุญาตให้เข้าเยี่ยม ญาติสามารถพูดคุย นำอาหารมาร่วมรับประทานกันได้ ที่ศูนย์เสริมสร้างความสมานฉันท์ ภายในค่ายอิงคยุทธบริหาร และหากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ศูนย์ประชาสัมพันธ์ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า หมายเลขโทรศัพท์ 073-262689 หรือที่ ฉก.11 หมายเลขโทรศัพท์ 073-295039
ญาติของนักศึกษา 3 คน จึงได้ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยตัวนักศึกษาที่ถูกจับกุม โดยอ้างมาตรา 90 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งบัญญัติว่า "เมื่อมีการอ้างว่าบุคคลใดต้องถูกควบคุมในคดีอาญา หรือในกรณีอื่นใด โดยมิชอบด้วยกฎหมาย บุคคลเหล่านี้ มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลท้องที่ที่มีอำนาจพิจารณาคดีอาญา ขอให้ปล่อย คือ ....." และได้อ้างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ดังนี้
· มาตรา ๔ บัญญัติว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอ ภาคของบุคคล ย่อมได้รับความคุ้มครอง
· มาตรา ๕ บัญญัติว่า ประชาชนชาวไทย ไม่ว่าเหล่ากำเนิด เพศ หรือศาสนาใด ย่อมอยู่ในความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญนี้เสมอกัน
· มาตรา ๖ บัญญัติว่า รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้
· มาตรา ๒๙ บัญญัติว่า การจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อการที่รัฐธรรมนูญนี้กำหนดไว้และเท่าที่จำเป็น และจะ กระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพนั้นมิได้
มาตรา ๓๒ บุคคลทุกคนย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย การทรมาน ทารุณกรรม หรือการลงโทษด้วยวิธีการ โหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรม จะกระทำมิได้
เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วการใช้สิทธิทางศาลจึงย่อมเป็นหนทางหนึ่งในการใช้สันติวิธี ในการเรียกร้องหาความเป็นธรรม ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ในระดับหนึ่งว่า ความยุติธรรมนั้นมีจริงในสถานการณ์ภาคใต้ ที่.ให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายมีสิทธิใช้กฎหมายได้ทั้งสิ้นไม่เฉพาะแต่ฝ่าย จนท. หรือเพียงแต่เรียกร้องความเป็นธรรมไปเรื่อยโดยไม่สนใจที่จะแสวงหาความยุติธรรมตามกฎหมายเอง
เราต้องเชื่อมั่นว่าวิถีทางที่จะได้มาซึ่งความเป็นธรรมนั้น มีอยู่จริง และเป็นช่องทางหนึ่งของการแก้ไขความขัดแย้งได้ และจะทำให้พวกเราชาวชาติเชื้อไทยสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบไม่ว่าจะนับถือศาสนาใดเพราะเคารพกฎ กติกา ของสังคม นั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น